คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555


วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103


หมายเหตุ วันนี้ไม่ได้เข้าเรียนเพราะว่าหยุดกลับบ้านที่ต่างจังหวัดเนื่องในวันปีใหม่ 

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555


วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103



หมายเหตุ วันนี้เป็นวันสอบกลาpภาค 

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555


วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103


         อาจารย์ได้พูดถึงหนังสือคู่มือว่านักศึกษาได้รับอะไร จากหนังสือนั้นบ้าง ดิฉันได้สรุปลง Mind mapping ดังนี้







               อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มละ 5 คน ให้คิดหน่วยการสอนว่าเด็กควรเรียนรู้อะไร (จ-ศ) โดยเลือกจาก ตัวฉัน สิ่งรอบตัว ธรรมชาติ ชีวิตประจำวัน ผลกระทบ  โดยให้เขียนหน่วยการสอนที่จะสอนใน1สัปดาห์โดยในรูปแบบของแมบปิ้ง กลุ่มของดิฉันได้เขียนหน่วย ตัวฉัน เลือกที่จะนำเสนอเรื่องของผมมีดังนี้
  • ชนิด
  • ลักษณะ
  • สี
  • ประโยชน์
  • โทษ
  • ข้อควรระวัง





วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103

                อาจารย์ให้เอากล่องอะไรก็ได้ เพื่อที่นำมาสอนเด็ก เพราะ สิ่งเหล่านี้เป็นของที่เหลือใช้
และอยู่รอบตัวเด็กๆ อยู่แล้ว
ในการจัดกิจกรรมให้เด็ก เราควรคำนึงให้เด็กได้รับรู้ ดังนี้
  •  เด็กควรใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการหยิบ จับ สัมผัส กระทำ
ถ้าเด็กได้เล่น เด็กก็จะลงมือกระทำอย่างอิสระและลดการคลายเครียดอีกด้วย
                       เพียเจย์ได้กล่าวไว้ว่าการลงมือกระทำตั้งแต่ แรกเกิด - 2 ปี โดยให้การสังเกต ในการลงมือกระทำของพฤติกรรม มีการทำงานของสมอง โดยนำเอามาเป็นช่วงอายุ ได้ทราบว่าแต่ละช่วงอายุทำอะไรได้บ้าง
                      กล่องที่นักศึกษาเตรียมมาสามารถนำมาสอนได้ ดังนี้


  •   นับ
  •   จับคู่ โดยจับกล่องที่มีเท่ากัน
  •   นำตัวเลขแทนค่า
  •   วัดขนาดของกล่อง
  •   เปรียบเทียบ
  •   เรียงลำดับ
  •   นำเสนอข้อมูล
  •   จัดประเภท โดยต้องมีเกณฑ์ กล่องที่มีของสามารถกินได้กับกล่องที่มีของไม่สามารถกินได้
  •   เนื้อที่ โดยนำดินน้ำมันมาวางใส่ในกล่องว่าได้ทั้งหมดกี่ก้อน
  •   เศษส่วน โดยคุณครูจะต้องถามเด็กๆว่าเอากล่องมาทั้งหมดกี่กล่องและกล่องที่ใส่ของมีทั้งหมดกี่กล่อง
  • ปริมาณค่าคงที่ โดยย้ายตำแหน่งให้เด็ก
  • การทำตามแบบ
             อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มละ 10 คน โดยมีทั้งหมด 4 กลุ่ม โดยอาจารย์จะกำหนดหัวข้อให้แต่ละกลุ่ม
 ดิฉันกลุ่มที่ 1  ได้หัวข้อ คือ ให้นักศึกษาวางกล่องตามความคิดของตนเอง โดยที่ไม่ต้องให้เพื่อนบอกว่าเราต้องวางตรงไหน กลุ่มของดิฉันได้วางกล่องตามจินตนาการของตนเอง สรุปได้ว่า กลุ่มดิฉันได้วางกล่องเป็นรูปเรือ ชื่อ เรือปิโตเลียมไทย
กลุ่มที่ 2 รถแทรกเตอร์ 2013
กลุ่มที่ 3 หุ่นยนตร์โลโบ้
กลุ่มที่ 4 หนอน