คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556


ค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม

เรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ
ผู้แต่ง สายพิณ ใจยวน

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ และศึกษาผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนบ้านทุ่งหัวช้าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 22 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย

· แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 13 แผน และใช้เวลาแผนละ 60 นาที
· แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 10 ข้อ
· แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยรวม
· การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ70.00
· นำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย
· สังเกตพฤติกรรม
· วิเคราะห์โดยการสรุปและบรรยา

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ทราบแนวการจัดการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

2. ได้ทราบพัฒนาความพร้อมของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเรื่อง การรู้ค่าและตัวเลข 1-10

สรุปดังนี้

วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ เป็นวิธีการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักสังเกตและศึกษารายละเอียดของเนื้อหาในแง่ความคิดรวบยอดและวิธีคิด โดยสรุปวิธีคิดด้วยตนเองและให้ฝึกทักษะ คิดคำนวณ วัดผลประเมินผลของนักเรียน

โดยการสอนมี 4 ขั้น คือ

1. ขั้นเล่น เปิดโอกาสให้เล่นกับสื่อโดยสอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อรู้จักการสังเกต

2. ขั้นเรียน หลังจากเล่นกับเนื้อหาแล้ว ให้นักเรียนศึกษารายละเอียดเนื้อหา เพื่อคิดรวบยอด หลักการ วิธีการคิด

3. ขั้นสรุป หลังจากเล่นกับสื่อแล้ว นักเรียนสรุปความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการคิด โดยวิธีลัดด้วยตนเอง

4. ขั้นฝึกทักษะ หลังจากสรุปความคิดรวบยอด ให้ฝึกทักษะให้เกิดความคล่องในการคิดคำนวณ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103

อาจารย์ให้นักศึกษาไปร่วมงานที่ลานแดง ในหัวข้อ การใช้แก้วน้ำประจำตัว



มีเนื้อหาดังนี้

       นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ก็ให้นักศึกษาเข้ามาเรียนตามปกติ โดยให้นักศึกษาที่เหลือนำเสนอ หน่วยการสอน 

กลุ่มดิฉัน ได้นำเสนอ หน่วยผม

วันจันทร์ ถามเกี่่ยวกับผมว่า ผมสีอะไรลักษณะอย่างไร และทำตารางวิเคราะห์ เพื่อจะสอนการนับ จำนวนสีผมโดยแยกสีผมดำและสีผมน้ำตาล และผมหยิกกับผมตรง โดยใส่ตัวเลขกำกับ

วันอังคาร ทบทวนเนื้อหาเมื่อวานที่เรียนไป และสอนหน้าที่ของผมโดยนำนิทานมาประกอบการเล่า

วันพุธ ถามเด็กว่าเมื่อวานเด็กๆเรียนเกี่ยวกับหน้าที่ของเส้นผม และเส้นผมมีหน้าที่อะไรบ้างค่ะ? และวันนี้คุณครูจะสอนเรื่องประดยชน์และข้อควรระวัง

วันพฤหัสบดี  สอนการดูแลรักษาเส้นผม โดยสาธิตจากการปฏิบัติจริง เช่น สระผมโดยนับจำนวนส่าสระผมกี่ครั้ง

วันศุกร์  ถามเด็กๆว่าอาชีพของผมมีอะไรบ้าง โดยทำแผนภูมิแล้วให้เด็กๆนำแผ่นป้ายอาชีพที่เด็กๆชอบไปติดที่แผนภูมิ และเปรียบเทียบว่าอาชีพไหนเด็กๆชอบมากกว่ากัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103
 
วันนี้ได้นำเสนอกลุ่มที่ 2 เรื่อง ต้นไม้
 
วันจันทร์
 
คุณครูได้ถามเด็กๆ ว่า
-  บ้านใครมีต้นไม้บ้าง ?
-  ปลูกต้นไม้อะไรบ้าง ?
-  ลักษณะต้นไม้เป็นอย่างไร ?
 
พอเด็กๆตอบคุณครูก็วาดตารางแบ่งแต่ละช่อง เพื่อที่จะแบ่งต้นไม้แต่ละชนิดให้เด็กๆเข้าใจ
 
วันอังคาร เรื่อง ส่วนประกอบของต้นไม้
 
คุณครูนำรูปส่วนประกอบของต้นไม้มาให้เด็กๆดู แล้วบอกว่าภาพนี้คืออะไร และสอนเรื่อง จำนวน โดยเอาภาพแทยจำนวน
 
วันพุธ
 
คุณครูสอนเด็กๆ โดยเล่านิทานวาดไปเล่าไป เพื่อให้เด็กๆคิดและเกิดจินตนาการ
 
วันศุกร์ เรื่อง โทษของต้นไม้
 
สอนให้เด็กรู้โทษของต้นไม้ว่าเป็นอย่างไร และควรระมัดระวังอย่างไร บางครั้งในการสอนแบบนี้พอสอนเสร็จคุณครูก็สามารถพาเด็กๆไปปลูกต้นไม้และสอนไปได้อย่างต่อเนื่อง
 

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสาธิตการสอน  โดยกลุ่ม 1 สาธิต เรื่อง ดิน แบ่งเป็นสัปดาห์
 
 วันจันทร์ เรื่อง ชนิดของดิน
 
- ใช้คำถามๆเด็กว่า เด็กๆเคยเห็นดินไหม?
ในการมช้คำถาม ควรสร้างเสริมประสบการณ์เดิมเด็กด้วย
วัตถุประสงค์
1. แบ่งปัันความรู้
2. คิดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา
3. มีส่วนร่วม
 
จากคำถามที่ใช้ถามเด็กว่า เคยเห็นดินไหม? และถามต่อว่าเคยเห็นดินชนิดไหนบ้าง? เด็กตอบว่า
1.   ดินเหนียว
2.   ดินร่วน
3.   ดินทราย
4.   ดินน้ำมัน
5.   ดินสอพอง
6.   ดินสอสี
7.   ดินเปรี้ยว
8.   ดินเค็ม
9.   ดินประสิว
10. ดินปืน
11. ดินสอไม้
 
พอถามชนิดดินเสร็จก็สอนเด็กในเรื่อง การนับเลข โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม เช่น จำนวนถึง 10 ให้ไว้อีกฝั่ง แล้วเหลือเศษเท่าไรให้นับ
 
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะของดิน
 
คุณครูสอน สีของดินและเนื้อของดิน โดยนำดินใส่ถุงพลาสติกแล้วให้เด็กๆสังเกตดิน
 
วันพุธ เรื่อง ส่วนประกอบของดิน
 
คุณครูสอนเเบ่งประเภทสัตว์มีชีวิตกับไม่มีชีวิต ไว้จำพวกเเดียวกัน
 
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของดิน
 
โดยนำรูปประโยชน์ของดินมาติด แล้วบอกว่าภาพนี้คืออะไร แล้วสอนการนับเลขเด็ก ว่ามีกี่ภาพ?
 
และในการสอนเด็กควรทบทวนเนื้อหาที่เด็กๆได้เรียนไม่เมื่อวานด้วย เพื่อให้เด็กเกินความคิดย้อนกลับจากประสบการณ์เดิม
 
วันนี้ได้นำเสนอ 1 กลุ่ม อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนว่าวันนี้ได้อะไรจากที่เพื่อนสอนบ้าง
 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103
 
 
        อาจารย์ได้สอนเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ในมาตราฐาน 6 มาตรฐาน มีหัวข้อดังนี้
 
- การใช้จำนวนจากการนับ
- การอ่าน เขียน เลขฮินดูอาราบิกและไทย
- เปรียบเทียบจำนวน
- เรียงลำดับตัวเลข
 
         วันนี้อาจารย์มีประชุมด่วน ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานกลุ่มในสัปดาห์หน้า โดยให้กลุ่มละ 20 นาที อาจารย์บอกว่า ในการสอนเด็กหัวข้อ "ประโยชน์" ควรมีเพลงและนิทานเสริมไปด้วย
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556


วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103



อาจารย์ได้พูดถึงหลักการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่สำคั





       สอนเด็กจากรูปจำนวนจากการนับเด็กในห้องเรียนโดยแยกเด็กเป็น 10 คน = ไม้ตะเกียบ 10 อัน แล้วมัดรวมกันเป็น 1 มัด = 1 กลุ่ม ทำไปเรื่อยๆจนเหลือเศษของจำนวนทั้งหมดของเด็ก เด็กจะได้เรียนรู้การนับ การแยกกลุ่มในการจัดประสบการณ์ของเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน สื่งที่ในห้องเรียน สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญเราต้องคำนึงถึงสาระสำคัญและประสบการณ์สำคัญ ที่ปรากฎอยู่ในหลักสูตรการจัดกิจกรรมบูรณาการสอน เช่น หน่วยผลไม้

ผลไม้จะอยุ่ในตะกร้า 2 ตะกร้า โดยแยกดังนี้
ตะกร้าที่1 คือ ผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือก 
ตะกร้าที่2 ต้องปอกเปลือก
ในเรื่องนี้สามารถสอนการบรูณาการในการสอนทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้ 

  • แยกแยะ
  • เปรียบเทียบ
  • จำนวน
  • รู้ค่า
  • กำกับตัวเลข
เพราะเราสามารถเเยกเเยะผลไม้ได้ 2 ประเภท และเปรียบเทียบดูว่าผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกกับปอกเปลือกทานเป็นอย่างไร และมีจำนวนเท่าไร ทำให้เราได้รู้ค่า และกำกับสิ่งนั้นด้วยตัวเลข
อาจารย์ได้ทบทวนมาตราฐานการเรียนรู้ของ สสวท. 

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พี่ชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556


วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED 2204 เวลา 8.30 - 12.20 น กลุ่มเรียน 103


             อาจารย์ได้ตรวจ Mind Mapping ของกลุ่มดิฉันและเพื่อนๆในห้องเรียน พร้อมทั้งอธิบายและแนะนำวิธีการเรียนการสอน ที่จะนำไปสอนเด็กใน 5 วัน ว่าแต่ละวัน เราควรสอนอะไรบ้างให้สอดคล้องกบหน่วยการเรียนรู้ของเด็ก อาจารย์ได้ยึดแนวทางในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของ อ.นิตยา อ.เยาวภา และกรอบมาตราฐาน ในการเรียนรู้คณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัยและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก

มาตราฐานการเรียนรู้มี 6 อย่าง

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พี่ชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์